โปรแกรม Proteus เป็นโปรแกรมที่มีสิ่งที่โดดเด่นคือการจำลองการทำงานของวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะที่โดดเด่นไม่แพ้โปรแกรมอื่นคือการออกแบบลายปริ้นท์ ซึ่งในบางครั้งอุปกรณ์ที่ให้มาที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้นั้นไม่มี เราสามารถสร้างใช้งานเองได้ บทความนี้ขอนำเสนอการสร้างอุปกรณ์เพื่อใช้ในการออกแบบลายวงจรพิมพ์ (ออกแบบปริ้นท์)
โปรแกรม Proteus (อ่านว่า "โปรเตียส") เป็นโปรแกรมที่สามารถออกแบบลายปริ้นได้โปรแกรมหนึ่ง และที่โดดเด่นกว่าโปรแกรมอื่น (ในส่วนของการออกแบบลายปริ้น) คือสามารถแสดงผลสามมิติ ให้ผู้ใช้สามารถเห็นรูปร่างของแผ่นปริ้นเมื่อลงวงจรแล้วหน้าตาจะเป็นแบบใด
การออกแบบลายปริ้นด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle ในตอนนี้เป็นการออกแบบลายปริ้นอัตโนมัติซึ่งเป็นตอนที่ 2 ถัดจากการออกแบบลายปริ้นแบบมือเปล่า ซึ่งการเดินลายปริ้นตัวโปรแกรม Cadsoft Eagle จะเป็นผู้หาเส้นทางในการเดินลายปริ้นอัตโนมัติ
CadSoft Eagle หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า โปรแกรมออกแบบลายปริ้น Eagle เป็นโปรแกรมออกแบบลายปริ้นที่มีขนาดเล็ก (ขนาดไฟล์ติดตั้งประมาณ 40 กว่าเมก) ใช้งานง่ายและเป็นโปรแกรมฟรี ได้รับความนิยมค่อนข้างมากสำหรับนักออกแบบลายปริ้นมือใหม่
ปัญหาของโปรแกรม Protel99SE ที่รับบน Windows 7 ก็คือการทำงานของโปรแกรมไม่สมบูรณ์เหมือนกับการรันภายใต้ WindowsXP ปัญหาที่เจอก็คือการเพิ่มไลบารี่ไม่ว่าจะเป็นส่วนของการวาดวงจร (Schematic) หรือการออกแบบลายปริ้น (PCB) จะไม่สามารถเพิ่มเข้าไปใช้งานได้ ซึ่งเป็นผลให้ผู้ใช้งานต้องกลับไปใช้ WindowsXP ในการลงโปรแกรม Protel99SE เพื่อใช้งาน ทั้งที่ใจก็อยากใช้ Windows 7
การทำปริ้นที่ต้นทุนต่ำอีกวิธีหนึ่งคือการทำปริ้นโดยใช้โบรชัวด์สินค้าที่เรามักได้รับเมื่อมีการจัดงานแสดงต่าง ๆ จากการทดลองทำปริ้นจากการใช้โบรชัวด์ทำปริ้นจะง่ายกว่าการใช้กระดาษโฟโต้ทำ เนื่องจากกระดาษโฟโต้มีเยื่อเหนียว ๆ เพื่อให้หมึกติดกับกระดาษง่าย แต่โบรชัวสินค้าไม่มีดังนั้นเมื่อถึงขั้นตอนแช่น้ำให้กระดาษยุ่ยจึงง่ายกว่า
การทำปริ้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของปริ้นที่ต้องการ สำหรับการทำปริ้นด้วยกระดาษโฟโต้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายต้นทุนต่ำ (สำหรับลายวงจรไที่ไม่ซับซ้อนนัก) แต่มีข้อเสียตรงที่ขนาดของลายเส้นที่มีขนาดเล็กทำได้ยาก เหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ทำโครงงานหรือทำวงจรอะไรเล่นๆ
ในการประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่นำไปประยุกต์ใช้งานที่แพร่หลายอย่างหนึ่งคือการนำไปควบคุมการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เช่นการควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ เนื่องจากมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงสามารถใช้พลังงานจากแบตเตอรี ซึ่งจะต้องบรรจุอยู่ใยตัวหุ่นยนต์ และอีกประการหนึ่งคือมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงสามารถควบคุมการทำงานได้ง่าย
*ภาพจาก www.robotshop.us
ในการเรียนรู้ของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาที่เกี่ยวข้อง วิชาที่ขาดไม่ได้วิชาหนึ่งคือวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ อันสังเกตุได้จากการประกวดแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับต่างๆซึ่งหัวใจของหุ่นยนต์คือไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงาน โดยวิชานี้ครูได้สอนมาหลายปีติดต่อกัน(ตั้งแต่เริ่มเปิดระดับ ปวส. เกือบ 20 ปีแล้ว..) มีความเข้าใจใจว่านักศึกษาจะต้องเรียนรู้อะไรบ้างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไร ซึ่งเป็นที่มาของหนังสือ "เรียนไปเล่นไปกับไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS-51 ด้วยภาษา C"
จากการที่ได้ออกแบบวงจรด้วยคอมพิวเตอรฺ์ ได้ทำการออกแบบวงจรชุดฝึกหรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นชุดที่ใช้สำหรับทดลองไมโครคอนโทรเลอร์ซึ่งงานชิ้นนี้ได้ออกแบบโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ในตระกูล MCS51 ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีความนิยมมากตระกูลหนึ่ง
การแสดงผลในงานอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมมากอย่างหนึ่งคือการแสดงผลเป็นตัวเลข โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการแสดงเป็นตัวเลขนั่นก็คือ 7-Segment หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า ตัวเลขเจ็ดส่วน ซึ่งที่มาก็คือมีส่วนของการแสดงผลที่ให้เป็นตัวเลขใดก็ได้โดยใช้เพียงส่วนในการติดสว่างเพียงเจ็ดส่วนเท่านั้น แต่ในความเป็น 7-Segment มีขาที่ควบคุมในการติดสว่างทั้งหมด 8 ขา โดยขาสุดท้ายเป็นขาที่ใช้ควบคุมการติดสว่างของจุด