บทความประกอบการเรียนรู้ => ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ มิถุนายน 27, 2022, 01:14:41 PM

หัวข้อ: การเรียนรู้ครั้งที่ 28 EasyEDA [ออกแบบ PCB-4 (555-Astable)]
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ มิถุนายน 27, 2022, 01:14:41 PM
    การออกแบบวงจรพิมพ์ในครั้งนี้เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มความชำนาญในการใช้งาน EasyEDA ในการออกแบบ PCB อีกครั้ง หากจำขั้นตอนการใช้ให้กลับไปศึกษาการงานครั้งที่ 25, 26 ,27
ตอนที่ 1 เริ่มต้นใช้งาน https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=420.0 (https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=420.0)
ตอนที่ 2 Footprint https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=421.0 (https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=421.0)
ตอนที่ 3 การค้นหาอุปกรณ์ https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=422.0 (https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=422.0)

โจทย์การออกแบบ
    - ออกแบบลายวงจรพิมพ์วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ไอซี 555 โดยให้มีขนาดของแผ่นลายวงจรพิมพ์ไม่เกิน 1.5 ตารางนิ้ว ตัวอย่างการคำนวณพื้นที่เป็นดังนี้
     * ขนาด 1000x1000mil = 1 ตารางนี้ว
     * ขนาด 1100x1100mil = 1.21 ตารางนี้ว
     * ขนาด 1200x1200mil = 1.44 ตารางนี้ว
     * ขนาด 1000x1500mil = 1.5 ตารางนี้ว
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/14.png)

ขั้นตอนการหาอุปกรณ์
1. โจทย์การออกแบบในครั้งนี้เป็นวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ที่ใช้ไอซีไทเมอร์ 555 เป็นตัวควบคุมการทำงานดังรูป
วงจรประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
    - ตัวต้านทานขนาด 1/4W
    - ตัวเก็บประจุที่มีค่าเท่ากับ 100uF 16V เมื่อทำการตรวจสอบจากเวปไซต์ขายอะไหล่พบว่าตัวเก็บประจุค่านี้มีขนาดระยะขา 2.5mm ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3mm
    - LED มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3mm
    - ไอซี LM555 ตัวถังตีนตะขาบ (DIP-8)
    - ขั้วต่อไฟเลี้ยงที่เป็น Terminal Block เมื่อทำการตรวจสอบจากเวปไซต์ขายอะไหล่พบว่าที่มีขายจะมีขนาดระยะขา 5mm
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/1.png)

2. สร้างโปรเจคงานใหม่พร้อมตั้งชื่อโปรเจคไฟล์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/2.png)

3. หาตัวต้านทาน 1/4W ซึ่งจากรูปจะต้องเป็น Axial-0.4
(https://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep2/2.png)
คลิกเลือกตัวต้านทานจาก Commonly Library
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/3.png)

4. หาตัวเก็บประจุที่มีขั้วและมีขนาดระยะขา 2.5mm และเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3mm จาก Commonly Library
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/4.png)

5. หาตัว LED ขนาด 3 mm จาก Commonly Library
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/5.png)

6. หาขั้วต่อสาย (Terminal Block) แบบ 2 ขั้วที่มีระยะขา 5mm จาก Commonly Library
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/6.png)

7. คลิกที่ Library พิมพ์ค้นหาไอซีด้วยคำว่า LM555 ให้เลือกรายการที่มีคำว่า DIP-8 ในหัวข้อ Footprint แล้วกดวาง
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/7.png)

8. ทำการบันทึกไฟล์แล้วคลิกสร้างไฟล์ PCB เพื่อเช็คขนาดของอุปกรณ์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/8.png)

9. ทำการเช็คขนาดของอุปกรณ์ ควรเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ให้จุดต่อขาของอุปกรณ์ (PAD) อยู่ตรงจุดตัดของเส้นกริดเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบระยะขาของอุปกรณ์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/9.png)

10. หากต้องการตรวจสอบว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีโมเดล 3D หรือไม่ให้คลิกที่ 3D แล้วสังเกตผล
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/10.png)

ขั้นตอนการออกแบบ
11. คลิกกลับมาหน้าต่างวาดวงจร ทำการวาดวงจรให้เสร็จ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/11.png)

12. บันทึกไฟล์แล้วคลิก update pcb
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/12.png)

13. ปรับขนาดของ PCB ให้ได้ตามโจทย์กำหนด แล้วเคลื่อนย้ายอุปกรณ์เข้ามาในขอบเขต PCB พร้อมจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสม
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/13.png)

14. ดำเนินการเดินลายทองแดงให้เสร็จสิ้น เมื่อต้องการดูผลการออกแบบ 3 มิติให้คลิกที่ 3D
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/14.png)

15. กรณีที่จำเป็นต้องเดินสายผ่านจุดขาที่แคบเช่นระหว่างขาไอซีสามารถทำได้ดังนี้
    - ปรับขนาด PAD ให้เป็นวงรีโดยลดด้านที่ลายทองแดงว่าผ่าน และเพิ่มขนาดของ PAD อีกด้านหนึ่งแทน
    - ลดขนาดของลายทองแดงบริเวณจุดผ่านให้เล็กกว่าปกติ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/15.png)

(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep4/EP4.gif)