แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - admin

หน้า: [1] 2 3 ... 41
1
สายสัญญาณที่เชื่อมต่อไว้แล้ว
วงจรแสดงผล LCD i2c




ตัวอย่างโค้ด
โค๊ด: [Select]
#include <Wire.h> 
#include <LiquidCrystal_I2C.h>
LiquidCrystal_I2C lcd(0x3F,16,2);  /* 0x27 for PCF8574 and 0x3F for PCF8574A*/
void setup()
{
  lcd.init();
  lcd.backlight();
  lcd.setCursor(2,0);
  lcd.print("Hello, world!");
  lcd.setCursor(4,1);
  lcd.print("LCD i2c Lab");
}
void loop()
{
}



2
สายสัญญาณที่เชื่อมต่อไว้แล้ว
วงจรแสดงผล OLED




ตัวอย่างโค้ด
โค๊ด: [Select]
#include <Wire.h>
#include <Adafruit_GFX.h>
#include <Adafruit_SSD1306.h>
#define SCREEN_WIDTH 128 // OLED display width, in pixels
#define SCREEN_HEIGHT 64 // OLED display height, in pixels
#define OLED_RESET    -1 // Reset pin # (or -1 if sharing Arduino reset pin)
#define SCREEN_ADDRESS 0x3C //Address OLED
Adafruit_SSD1306 display(SCREEN_WIDTH, SCREEN_HEIGHT, &Wire, OLED_RESET);
int x;
void setup() {
  Serial.begin(9600);
  if(!display.begin(SSD1306_SWITCHCAPVCC, SCREEN_ADDRESS)) {
    Serial.println(F("SSD1306 allocation failed"));
    for(;;); // Don't proceed, loop forever
  }
}
void loop(){
  display.clearDisplay();
  display.setTextColor(WHITE,BLACK);   //Text is white ,background is black
  display.setCursor(0, 0);
  display.setTextSize(2);
  display.println("OLED ");
  display.setTextSize(1);   
  display.println("Arduino Laboratory");
  display.setTextColor(BLACK,WHITE); // 'inverted' text
  display.print("www.praphas.com");
  display.setTextColor(WHITE,BLACK); // 'inverted' text again
  display.setCursor(60,0);
  display.setTextSize(2); 
  display.println(x,DEC);
  display.display(); //
  x++;
  delay(250);
}



3
สายสัญญาณที่เชื่อมต่อไว้แล้ว
วงจรแสดงผล 7 Segment ชิพ HT16K33(i2c)




ตัวอย่างโค้ด
โค๊ด: [Select]
/* pin connection
  + -> 3.3-5V
  - -> GND
  D -> SDA (A4)
  C -> SCL (A5)
*/
#include <Wire.h>
#include <Adafruit_GFX.h>
#include "Adafruit_LEDBackpack.h"
Adafruit_7segment display = Adafruit_7segment();
void setup() {
  display.begin(0x70);
  display.clear();
}
void loop() {
  byte x, y, d;
  bool blinkColon = false;
  display.println("Abcd");
  display.writeDisplay();
  delay(5000);
  for (int i = 0; i < 99; i++) {
    display.println(i);
    display.writeDisplay();
    delay(50);
  }
  for (float f = 0; f < 5; f += 0.01) {
    display.println(f);
    display.writeDisplay();
    delay(50);
  }
  for (float f = 10; f < 50; f += 0.1) {
    x = int(f) / 10;
    y = int(f) % 10;
    d = int(f * 10) % 10;
    display.println("   C");
    display.writeDigitNum(0, x, false);
    display.writeDigitNum(1, y, true);
    display.writeDigitNum(3, d, false);
    display.writeDisplay();
    delay(50);
  }
  for (int i = 0; i < 10; i++) {
    display.println(1234);
    blinkColon = !blinkColon;
    display.drawColon(blinkColon);
    display.writeDisplay();   
    delay(1000);
  }
}


4
สายสัญญาณที่เชื่อมต่อไว้แล้ว
วงจรคีย์แพด




ตัวอย่างโค้ด
โค๊ด: [Select]
#include <Keypad.h>
#define LED 5
const byte ROWS = 4; //four rows
const byte COLS = 3; //three columns
char keys[ROWS][COLS] = {
  {'1','2','3'},
  {'4','5','6'},
  {'7','8','9'},
  {'*','0','#'}
};
byte rowPins[ROWS] = {6,7,8,9}; // Pins connected to R1, R2, R3, R4
byte colPins[COLS] = {10,11,12};      // Pins connected to C1, C2, C3
Keypad keypad = Keypad( makeKeymap(keys), rowPins, colPins, ROWS, COLS );
void setup()
{
  Serial.begin(9600);
  pinMode(LED,OUTPUT);
}
void loop()
{
  char key = keypad.getKey();
  if (key)
  {
    Serial.println(key);
    digitalWrite(LED,HIGH);delay(200);
    digitalWrite(LED,LOW);
  }
}

5
สายสัญญาณที่เชื่อมต่อไว้แล้ว
วงจรแสดงผล LCD เชื่อมต่อแบบ 4 บิต



ตัวอย่างโค้ด
โค๊ด: [Select]
#include <LiquidCrystal.h>
/* The circuit:
 * LCD RS pin to digital pin 13
 * LCD E  pin to digital pin 12
 * LCD D4 pin to digital pin 4
 * LCD D5 pin to digital pin 5
 * LCD D6 pin to digital pin 6
 * LCD D7 pin to digital pin 7
 * LCD R/W pin to ground
*/
LiquidCrystal lcd(13,12,4,5,6,7);   // set up the LCD's connection pins
void setup()
{
  lcd.begin(16, 2);               // set LCD size
  lcd.print("hello, world!");
}
void loop() {}

6
สายสัญญาณที่เชื่อมต่อไว้แล้ว
วงจรแสดงผล 7 Segment ชิพ MAX7219



ตัวอย่างโค้ด
โค๊ด: [Select]
#include "LedControl.h"
LedControl lc=LedControl(11,13,10,1); // 11->DIN,13->CLK,10->CS,1->1devices
void setup()
{
  lc.shutdown(0, false);   // Enable display
  lc.setIntensity(0, 5);  // Set brightness level (0 is min, 15 is max)
  lc.clearDisplay(0);      // Clear display register
  Serial.begin(9600);
}
void loop()
{
  byte x, y, z;
  int i;
  for (i = 0; i < 1000; i++)
  {
    Serial.println("--" + String(i));
    x = i / 100;                    //hundred digits
    y = (i % 100) / 10;             //tens digit
    z = i % 10;                     //unit digit
    lc.setDigit(0, 3, x, false);
    lc.setDigit(0, 2, y, false);
    lc.setDigit(0, 1, z, false);
    delay(100);
  }
}

7

การเชื่อมต่อพอร์ตในภาคต่าง ๆ บนบอร์ดทดลอง

วงจรเชื่อมต่อในบอร์ดทดลอง เชื่อมต่อไว้แล้ว ผู้ใช้งานเชื่อมต่อเอง
วงจรเซนเซอร์อุณหภูมิ LM35 -
วงจรเซนเซอร์แสง LDR -
วงจรเซนเซอร์อุณหภูมิ NTC -
วงจรเซนเซอร์อุณหภูมิ DS18B20 -
วงจร 10 bit LED -
วงจร DC Motor -
วงจร Stepper Motor -
วงจร Servo Motor -
วงจรเซนเซอร์อุณหภูมิ DHT11 -
วงจรสวิตช์เอาต์พุตดิจิทัล -
วงจรสวิตช์เอาต์พุตแอนะล็อก -
วงจรแสดงผล 7 Segment 4 หลัก -
วงจรแสดงผล 7 Segment ชิพ TM1637 -
วงจรแสดงผล 7 Segment ชิพ 74HC595 -
วงจรกำเนิดค่าแรงดันแอนะล็อก (Potentiometer) -
วงจรอุณหภูมิระยะทาง Ultrasonic -
วงจรแสดงผล 7 Segment ชิพ MAX7219 -
วงจร LCD -
วงจร Keypad -
วงจรแสดงผล 7 Segment ชิพ HT16K33(i2c) -
วงจรแสดงผล OLED i2c -
วงจรแสดงผล LCD 16x2 i2c -
หมายเหตุ
   1. วงจรที่เชื่อมต่อไว้แล้วที่เป็นวงจรที่มีไฟเลี้ยง วงจรนั้น ๆ จะเชื่อมต่อไฟเลี้ยงและกราวด์ไว้ให้แล้ว
   2. วงจรที่ไม่ได้เชื่อมต่อไว้ให้ เนื่องจากให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้การเชื่อมต่อกับขาพอร์ตที่ต้องการได้

8
รายการอุปกรณ์
web www.es.co.th
ลำดับที่รายการ จำนวนตัว
10.1uF1
21N58171
3LED 3 mm1
47-Segment LTC-47271
5MINI-USB Connector1
6STEPPING-MOTOR-CON1
7Terminal Box2
8Switch Tact8
web www.allnewstep.com
ลำดับที่รายการ จำนวนตัว
1Breadbroad 170hole1
2DHT111
3Female Header 1x101
4Female Header 1x141
5Female Header 1x152
6Female Header 1x216
7Female Header 1x35
8Female Header 1x46
9Female Header 1x4-90degree2
10Female Header 1x5-90degree2
12Female Header 1x51
13Female Header 1x82
14IC: DS18B201
15IC: L293D1
16IC: ULN28031
17IC: LM351
18LDR1
19LED-BAR 10  digit1
20NTC Thermistor 10k1
21Pin Header Connector 1x40 Black1
22Pin Header Connector 1x40 Red1
23Pin Header Connector 1x40 90degree1
24POTRV09 10k1
25POT-LCD 10k1
26Resistor 10k2
27Resistor 1k5
28Resistor 22023
29Resistor 4k72
30Resistor 6801
31TR: BC5474
32น็อตสกรู M34
33เสาน็อตไนลอน4
34I.C. SOCKET DIP 16 PINS1
35I.C. SOCKET DIP 18 PINS1
โมดูลเพิ่มเติมตามใบงาน
1Arduino Nano1
27 segment 4 digit HT16K33(i2c) 1
37 segment 4 digit TM16371
47 segment 4 digit 74HC5951
57 segment 8 digit MAX72191
6LCD 16char 2 Line1
7LCD 16char 2 Line i2c1
8OLED i2c1
9DC motor1
10Stepper Motor 5V1
11Wire jumper แบบแยกเส้น1
12Wire jumper แบบแพ1
ตัวต้านทานที่ไม่สามารถสั่งผ่านเวปได้ (สามารถใช้ค่าใกล้เคียงได้)
1Resistor 820 1/4w1
2Resistor 2k7 1/4w1
รายการอุปกรณ์ร้าน allnewstep บางรายการมีจำนวนมากกว่า 1 ชิ้นต่อการซื้อ 1 ครั้งให้สังเกตุก่อนการกดซื้อ

9
ลายปริ้นวงจรบอร์ดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์เวอร์ชั่น 2025

ลายปริ้นที่ใช้ศึกษาในวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ (Arduino) เวอร์ชั่น 2025 นี้ได้ปรับปรุงจากเวอร์ชั่น 2022 โดยเพิ่มจุดเชื่อมต่อโมดูลภายนอกอีกหลายตัวเช่น
  1. โมดูลแสดงผล 7 Segment 4 Digit ที่ใช้ไอซี TM1637
  2. โมดูลแสดงผล 7 Segment 4 Digit แบบ i2c ที่ใช้ไอซี HT16K33 
  3. โมดูลแสดงผล 7 Segment 8 Digit ที่ใช้ไอซี 74HC595
  4. โมดูลแสดงผล 7 Segment 8 Digit ที่ใช้ไอซี MAX7219
  ภาคจ่ายไฟมีคอนเน็คเตอร์ USB สำหรับใช้แหล่งจ่ายไฟข้างนอกในกรณีที่โหลดใช้กระแสสูงเพื่อป้องกันไดโอดในบอร์ด Auduino เสียหาย (กรณีที่ไม่ได้ใช้กระแสสูงยังสามารถใช้ไฟที่ผ่านทางสาย USB ที่เสียบเข้าบอร์ด Arduino ได้เช่นกัน) แผ่นลายวงจรมีขนาดเท่าเดิมคือขนาด  6x4 นิ้ว รูปแบบของแผงวงจรเป็นดังรูป


ไฟล์ต้นแบบลายปริ้น (Gerber) สำหรับส่งโรงงานผลิต //ขนาดสั่งทำ 102mm x 153mm
https://drive.google.com/file/d/1KFONZVBLjn27lhdBK64qHnZWX41eLIbM

ไฟล์แบบตัดพลาสติกด้วยเลเซอร์สำหรับฐานรองกันชอร์ตพื้น (CorelDraw)
https://drive.google.com/file/d/1ZPX9yCYlgKB0mjpS4YQPlyRMbM_iK6V2

12
ออกแบบอุปกรณ์เพิ่มความชำนาญ
ออกแบบอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า "ตาไก่" ไว้สำหรับเชื่อมต่อสายเข้าวงจร ให้ตั้งชื่ออุปกรณ์ใน easyeda ว่า Eyelets

ขนาดของตาไก่


การออกแบบตัวสัญลักษณ์


รูปร่างของตัวถัง (Footprint)


โมเดล 3 มิติสามารถดาวนโหลดจากเวปไซต์หลักได้ที่
https://www.3dcontentcentral.com/download-model.aspx?catalogid=171&id=66419

หรือจะดาวน์โหลดจากเวปครูได้ที่
https://www.praphas.coml/download/3dModelEasyEDA/User%20Library-Eyelets.wrl

13
    การออกแบบวงจรพิมพ์ไม่ว่าจะออกแบบด้วยโปรแกรมใดก็ตามต่อให้โปรแกรมนั้นมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้มากมายสิ่งที่ต้องเจอคืออุปกรณ์ที่ต้องการใช้หาอย่างใดก็ไม่เจอซึ่งอาจเป็นได้จาก 2 สาเหตุคือ อุปกรณ์มีมากและมากจนหาไม่เจอ หรือไม่มีอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวคือการสร้างอุปกรณ์ตัวนั้นขึ้นใช้เอง บทความนี้เป็นการเรียนรู้การสร้างอุปกรณ์ขึ้นใช้งานเองที่ใช้โปรแกรม EasyEDA ในการออกแบบวงจรพิมพ์
ขั้นตอนการสร้างอุปกรณ์ใหม่ ประกอบขึ้นด้วย 3 ส่วนคือ
    - การสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) เพื่อใช้ในการวาดผังวงจร (Schematic)
    - การสร้างตัวถัง (Footprint) ตามขนาดจริงของอุปกรณ์เพื่อใช้ในการออกแบบ PCB
    - การใส่ค่าโมเดล 3 มิติ (ขั้นตอนนี้จะมีผลตอนแสดงผล 3 มิติเท่านั้น ไม่ดำเนินการก็ได้)
ขั้นตอนมีดังนี้
1. ก่อนการสร้างอุปกรณ์ใหม่ผู้ออกแบบจะต้องมีขนาดของตัวอุปกรณ์ที่จะสร้างหาได้ 2 วิธีการคือ
    - หาดูจากดาต้าชีต
    - วัดขนาดจากตัวอุปกรณ์จริง


ขั้นตอนการสร้างสัญลักษณ์ (Symbol)
2. เริ่มจากการสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) ดังรูป


3. ตั้งชื่ออุปกรณ์ที่ต้องการสร้าง


4. วาดตัวถัง โดยใช้ขนาดที่เหมาะสมไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ให้ลองวางอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ แล้วลองเทียบสเกลดูว่าควรจะสร้างขนาดเท่าใด


5. วางขาอุปกรณ์ โดยให้จุดเชื่อมต่อวงจร (วงกลมสีเทาปลายขา) อยู่ด้านนอกตัวอุปกรณ์และอยู่ตรงจุดตัดของกริดเพื่อให้ง่ายต่องการลายสายเชื่อมต่อ


6. กรณีที่อุปกรณ์นั้น ๆ ไม่แสดงชื่อขาหรือหมายเลขขาเช่น ตัวต้านทาน ทรานซิสเตอร์ ไตรแอค เอสซีอาร์ เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเขียนชื่อขาหรือหมายเลขขาผู้ออกแบบวงจรก็สามารถใช้งานได้ วิธีการตั้งค่าไม่ได้แสดงค่าดังกล่าวทำได้ดังรูป


7. กรณีที่ต้องการใส่หัวลุกศรสามารถทำได้ดังรูป


8. ตั้งชื่อ Pre เป็นชื่อลำดับอุปกรณ์ เวลาออกแบบวงจรโปรแกรมจะแสดงเช่นตัวต้านทานก็แสดงเป็น R1, R2, R3


9. ทำการบันทึก ทดสอบว่าอุปกรณ์ที่สร้างเข้าในโปรแกรมหรือยังโดยคลิกดังรูป


ขั้นตอนการสร้างตัวถัง (Footprint)
10. คลิกเริ่มสร้างดังรูป


11. ตั้งชื่อตัวถัง (Footprint)


12. วาง PAD โดยให้ระยะห่างตรงตามขนาดของจริง และให้ PAD จุดกลางอยู่ตรงตำแหน่งกลางการออกแบบ (เส้นกริดสีขาว) ในที่นี้ระยะห่างระหว่าง PAD มีขนาดเท่ากับ 5mm ตามแบบ แต่ในความเป็นจริงขนาดจะห่างเท่ากับ 5.08mm หรือเท่ากับ 200mil ซึ่งมีระยะห่างเท่ากับ 2 ช่องกริด(ในกรณีที่ตั้งกริดไว้ที่ 100mil)


13. คลิกคลุมทั้งหมดเพื่อแก้ไขขนาดของ PAD ที่งที่เป็นรูและขนาดของทองแดงดังรูป


14. คลิกเลือกเลเยอร์ TopSilkLayer (สีเหลือง) ทำการวาดตัวถังให้ใกล้เคียงกับขนาดจริงมากที่สุด สามารถตวัดระยะการออกแบบได้โดยใช้เครื่องมือวัดระยะ ดังรูป


15. เมื่อออกแบบครบและได้ขนาดตามต้องการให้ทำการลบเส้นวัดระยะ แล้วทำการบันทึก


16. กลับไปหน้าต่างการออกแบบสัญลักษณ์ คลิกที่ช่อง Footprint


17. คลิกค้นหา Footprint ดังรูป


18. เลือก Footprint ที่สร้างขึ้น โปรแกรมจะทำการเชื่อมต่อขาให้อัตโนมัติ หากการเชื่อมต่อไม่ถูกต้องผู้ใช้สามารถแก้ไขการเชื่อมต่อได้

   
หากตรวจสอบพบการเชื่อมต่อขาไม่ถูกต้อง อาจเกิดจากการเรียงขาไม่ถูกในขั้นตอนใดให้ไปแก้ไขในขั้นตอนนั้น เช่นในตัวอย่างการเรียงขาในขั้นตอนการสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) ผิด ดำเนินการกลับไปแก้ไขการเรียงขาในสัญลักษณ์ใหม่ แล้วดำเนินการซ้ำในขั้นตอนกำหนด Footprint ใหม่ดังรูป


การใส่โมเดล 3 มิติ
19. โมเดล 3 มิติสามารถค้นหาและดาวน์โหลดมาใช้งานได้จากหลายเวปไซต์ที่แจกฟรี ในที่นี้ขอแนะนำ https://www.3dcontentcentral.com สำหรับตัวอุปกรณ์ในงานครั้งนี้เป็น Potentiometer สามารถเข้าไปดาวน์โหลดจากลิงค์ โดยเลือกชนิดไฟล์เป็นนามสกุล *.wrl
https://www.3dcontentcentral.com/Download-Model.aspx?catalogid=171&id=774453
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเวปไซต์จะไม่สามารถดาวน์โหลดได้ ครูได้ดาวน์โหลดไว้ให้แล้วโดยสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
http://www.praphas.com/download/3dModelEasyEDA/User%20Library-Potentiometer-3.wrl


20. ทำการสร้างไฟล์เก็บโมเดล 3D ดำเนินการดังรูป


21. เลือกไฟล์โมเดล 3 มิติที่ดาวน์โหลดมาแล้วจากขั้นตอนข้างต้น


22. กลับไปที่ไฟล์ Footprint ที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ คลิกที่ช่อง 3DModel


23. ทำการค้นหาโมเดล


24. คลิกแล้วทำการปรับแก้ขนาด ตำแหน่ง


25. เมื่อปรับแก้ตำแหน่งถูกต้องแล้ว ให้ปรับมุมมองในช่องแสดงผล ให้ขาอุปกรณ์อยู่ตรงกลางของรูพอดี


26. ทำการทดสอบโดยการสร้างโปรเจคออกแบบ PCB ใหม่โดยเลือกอุปกรณ์ที่สร้างขึ้น การเลือกทำได้ดังรูป


27. ทดลองวาง 2 ตัวแล้วเชื่อมต่อขา


28. ทำการอัพเดตเป็น PCB ให้สังเกตุสายเน็ตต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างขาอุปกรณ์


29. ทดลองแสดงผล 3D จะต้องแสดงผลโมเดล 3 มิติได้ดังรูป


14
    การออกแบบวงจรพิมพ์ในครั้งนี้เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มความชำนาญในการใช้งาน EasyEDA ในการออกแบบ PCB อีกครั้ง หากจำขั้นตอนการใช้ให้กลับไปศึกษาการงานครั้งที่ 25, 26 ,27
ตอนที่ 1 เริ่มต้นใช้งาน https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=420.0
ตอนที่ 2 Footprint https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=421.0
ตอนที่ 3 การค้นหาอุปกรณ์ https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=422.0

โจทย์การออกแบบ
   ออกแบบลายวงจรพิมพ์วงจรรีเลย์ 1 ช่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์เป็นตัวขับ โดยขนาดของ PCB จะต้องมีขนาดดังนี้
 -ขนาดความยาวของ PCB ไม่เกิน 3 นิ้ว หรือ 3000 mil
 -ขนาดความกว้างของ PCB ไม่เกิน 1.5 นิ้ว หรือ 1500 mil

ตัวอย่างเมื่อออกแบบเสร็จผลที่ได้ดังรูป


ขั้นตอนการดำเนินการ
1. วงจรที่ใช้ในการออกแบบ


รายการอุปกรณ์ประกอบด้วย
    - ตัวต้านทานขนาด 1/4 w ใช้อุปกรณ์ใน Commonly Library ในรายการตัวต้านทาน AXIAL-0.4
    - ไดโอด 1N4001 ใช้อุปกรณ์ใน Commonly Library ในรายการไดโอด 1N4007
    - LED ขนาดตัวถังทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 3mm ใช้อุปกรณ์ใน Commonly Library ในรายการ LED-TH-3mm
    - ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2N3904 ใช้อุปกรณ์ใน Commonly Library ในรายการทรานซิสเตอร์ 2N3904(TO-92)
    - เทอร์มินอลบล็อกแบบ 3 ขา ระยะระหว่างขา 5.00mm ใช้อุปกรณ์ใน Commonly Library ในรายการเทอร์มินอลบล็อก CONN-TH_3P-5.00
    - รีเลย์ขนาดแรงดันขดลวด 12VDC พิกัดกระแส 10A เบอร์ SRD-12VDC-SL-C ต้องใช้วิธีค้นหาในปุ่ม Library

ก่อนดำเนินการออกแบบต้องเช็คอุปกรณ์ก่อนว่ามีขายหรือไม่ เช่นใในวงจรโจทย์อุปกรณ์ที่ไม่สามารถหาได้โดยทั่วไปให้ตรวจสอบจากเวปไซต์จำหน่ายอุปกรณ์ เช่นเวปไซต์ www.allnewstep.com รายการอุปกรณ์ดังนี้ (สามารถคลิกตรวจสอบได้)
- เทอร์มินอลบล็อก  Terminal Block 3 ขา KF301 3P position 5.0MM
- รีเลย์ 12VDC 10A 250VAC
- ทรานซิสเตอร์ เบอร์ 2N3903
* เมื่อเข้าตรวจสอบอุปกรณ์พบว่ารีเลย์ 12VDC 10A มีเบอร์สกรีนบนตัวอุปกรณ์เป็น เบอร์ SRD-12VDC-SL-C จะใช้เบอร์นี้ในการค้นหาอุปกรณ์ในโปรแกรมออกแบบวงจร

2. คลิก New Project เพื่อสร้างโปรเจคไฟล์ใหม่


3. ตั้งชื่อโปรเจคไฟล์


4. อุปกรณ์ที่สามารถใช้งานในกลุ่ม Commonly Library เลือกใช้ดังนี้
   -ตัวต้านทาน 1/4w ใช้ R_AXIAL-0.4
   -LED ใช้ LED-TH-3mm_R,  LED-TH-3mm_G
   -ไดโอด ใช้ 1N4007
   -ทรานซิสเตอร์ ใช้ 2N3904(TO-92)


5. รีเลย์ตัวที่เลือกใช้เป็นเบอร์ SRD-12VDC-SL-C ต้องใช้วิธีค้นหาใน Library การดำเนินการทำดังรูป


6. วางอุปกรณ์ให้คยทุกตัว แล้วทำการบันทึกไฟล์ จากนั้นให้คลิกสร้างไฟล์ PCB


7. ตรวจสอบขนาดของอุปกรณ์ที่เลือกว่าตรงกับที่ต้องการหรือไม่ อาจปริ้นลงกระดาษแล้วเอาอุปกรณ์จริงมาวางเพื่อวัดระยะของขาโดยตรงได้ หรืออาจใช้เครื่องมือวัดระยะในตัวโปรแกรมเพื่อตรวจสอบกับอุปกรณ์ที่ใช้จริงว่าตรงกันหรือไม่ (แล้วทำการบันทึกไฟล์)


8. หากต้องการดูผลที่เป็น 3D สามารุทดสอบดูได้ว่าอุปกรณ์มีตัวใดที่ไม่มีโมเดล 3D หากผู้ใช้งานต้องการอุปกรณ์ที่มีโมเดล 3D สามารถดำเนินการได้ 2 กรณีคือ
     - ค้นหาอุปกรณ์ตัวใหม่เบอร์เดิมที่มีโมเดล 3D
     - แก้ไขตัวอุปกรณ์ในหน้าต่าง PCB โดยคลิกที่รายการ 3D เพื่อค้นหาโมเดล 3D ที่เข้ากันได้


9. จุดที่เป็นจุดต่อสัญญาณเช่นในวงจรเป็นจุด INPUT สามารถใช้ดังรูปได้ เมื่อวางแล้วให้ดับเบิลคลิกเพื่อแก้ไขชื่อให้ตรงกับชื่อในวงจร


10. ลายสายไฟเชื่อมต่อวงจรจนครบสมบูรณ์ จะได้ดังรูป


11. ทำการบันทึกไฟล์แล้วคลิกอัพเดต PCB


12. คลิก Apply Changes


13. ปรับขนาด PCB แล้วลากอุปกรณ์แต่ละตัววางในขอบเขตของ PCB ให้เหมาะสมตามต้องการ แล้วเดินลายทองแดงให้ครบ พร้อมใส่ข้อความบนลายทองแดง


14. ก่อนถมลายวงจรเพื่อเพิ่มขนาด PCB ให้แก้ใข Remove Loop ให้เป็น No ก่อน


15. ดำเนินการถมลายวงจร


16. คลิกที่ 3D เพื่อดูผลแบบ 3 มิติ เพื่อดูความเหมาะสมในการจัดวางอุปกรณ์


17. ดำเนินการส่งออกไฟล์เป็น pdf เพื่อใช้ในการทำปริ้นด้วยตนเอง


18. เลือกเลยเยอร์ที่เป็นเฉพาะลายทองแดงด้านล่างดังรูป


19. ผลที่ได้


15
    การออกแบบวงจรพิมพ์ในครั้งนี้เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มความชำนาญในการใช้งาน EasyEDA ในการออกแบบ PCB อีกครั้ง หากจำขั้นตอนการใช้ให้กลับไปศึกษาการงานครั้งที่ 25, 26 ,27
ตอนที่ 1 เริ่มต้นใช้งาน https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=420.0
ตอนที่ 2 Footprint https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=421.0
ตอนที่ 3 การค้นหาอุปกรณ์ https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=422.0

โจทย์การออกแบบ
    - ออกแบบลายวงจรพิมพ์วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบที่ใช้ทรานซิสเตอร์เป็นตัวขับ LED โดยให้มีขนาดของแผ่นลายวงจรพิมพ์ไม่เกิน 1.5 ตารางนิ้ว ตัวอย่างการคำนวณพื้นที่เป็นดังนี้
     * ขนาด 1000x1000mil = 1 ตารางนี้ว
     * ขนาด 1100x1100mil = 1.21 ตารางนี้ว
     * ขนาด 1200x1200mil = 1.44 ตารางนี้ว
     * ขนาด 1000x1500mil = 1.5 ตารางนี้ว


1. โจทย์การออกแบบในครั้งนี้เป็นวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ดังรูป
วงจรประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
    - ตัวต้านทานขนาด 1/4W
    - ตัวเก็บประจุที่มีค่าเท่ากับ 100uF 16V เมื่อทำการตรวจสอบจากเวปไซต์ขายอะไหล่พบว่าตัวเก็บประจุค่านี้มีขนาดระยะขา 2.5mm ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3mm
    - LED มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3mm
    - ทรานซิสเตอร์เบอร์ BC547
    - ขั้วต่อไฟเลี้ยงใช้เป็นจุดต่อสายแทนการใช้ Terminal Block


2. คลิก New Project เพื่อสร้างโปรเจคไฟล์ใหม่



3. ตั้งชื่อโปรเจคไฟล์


ขั้นตอนการหาอุปกรณ์

4. เลือกตัวต้านทานขนาด AXIAL-0.4 เนื่องจากใช้ตัวต้านทานขนาด 1/4w


5. ผู้ออกแบบสามารถค้นหา LED จากเมนู Library ก็ได้ หรือจะใช้อุปกรณ์ที่โปรแกรมมีมาให้โดยเลือกที่เมนู Commonly Library (ตัวอย่างการออกแบบ EasyEDA ตอนที่ 4)


6. ค้นหาทรานซิสเตอร์ BC547 โดยดำเนินการดังรูป (สามารถเลือกรายการที่ Out of Stock ได้หากผู้ออกแบบทำการจัดหาทรานซิสเตอร์จากแหล่งอื่นในการประกอบวงจร)


7. การค้นหาอุปกรณ์ที่เป็นตัวเก็บประจุทำได้ดังรูป ให้คลิกรายการฟิลเตอร์ตามค่าตัวเก็นประจุที่ต้องการ เช่น 100uF 16v ระยะขา 2.5mm เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3mm


8. ค้นหาจุดต่อที่เป็น WirePAD ดำเนินการดังรูป (เนื่องจากจุดต่อไม่ใช่อุปกรณ์จึงค้นหาจากเวปขายอุปกรณ์ไม่เจอ แต่มีผู้ออกแบบแชร์ให้ใช้งานโดยต้องคลิกที่ User Contributed)


9. กรณีที่ไม่ต้องการค้นหาตัวเก็นประจุจากเวปจำหน่าย สามารถเลือกใช้จากรายการอุปกรณ์ที่โปรแกรมมีให้ใช้งานโดยเลือกที่เมนู Commonly Library


10. วางอุปกรณ์ครบทุกตัว


11. ในงานครั้งนี้ตัวทรานซิสเตอร์จะต้องกลับด้าน สามารถทำได้ดังรูป (คลิกที่ตัวทรานซิสเตอร์ก่อน)


12. แก้ไขชื่อจุดต่อไฟเลี้ยงทำได้โดยการดับเบิลคลิกแล้วพิมพ์ชื่อใหม่


13. แก้ไขชื่อจุดต่อกราวด์


14. ลายสายไฟเชื่อมต่อวงจรจนครบสมบูรณ์


15. ทำการบันทึกไฟล์ แล้วคลิกปุ่มเพื่อสร้างไฟล์ PCB ดังรูป


16. ผลไฟล์ PCB ที่ได้


17. หากต้องการดูผลที่เป็น 3D สามารุทดสอบดูได้ว่าอุปกรณ์มีตัวใดที่ไม่มีโมเดล 3D หากผู้ใช้งานต้องการอุปกรณ์ที่มีโมเดล 3D สามารถดำเนินการได้ 2 กรณีคือ
     - ค้นหาอุปกรณ์ตัวใหม่เบอร์เดิมที่มีโมเดล 3D
     - แก้ไขตัวอุปกรณ์ในหน้าต่าง PCB โดยคลิกที่รายการ 3D เพื่อค้นหาโมเดล 3D ที่เข้ากันได้


18. กำหนดขนาดเริ่มต้นการออกแบบ


19. ปรับขนาดขอบ PCB ให้ได้ตามโจทย์กำหนด


20. วางรูยึด PCB พร้อมแก้ไขขนาดรูให้ได้ 3.2mm เพื่อให้สามารถใช้สกรู M3 ในการยึด PCB ได้


21. ลากอุปกรณ์แต่ละตัววางในขอบเขตของ PCB ให้เหมาะสมตามต้องการ แล้วเดินลายทองแดงให้ครบ


22. คลิกที่ 2D เพื่อดูผลหากสั่งผลิต PCB จะเป็นลักษณะใด


23. คลิกที่ 3D เพื่อดูผลแบบ 3 มิติ เพื่อดูความเหมาะสมในการจัดวางอุปกรณ์



หน้า: [1] 2 3 ... 41