กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
12
    การออกแบบวงจรพิมพ์ (PCB) ผู้ออกแบบจะต้องรู้ขนาดของตัวอุปกรณ์ในแต่ละตัวก่อนการดำเนินการออกแบบเนื่องจากผังวงจรที่ใช้ในการออกแบบมีอุปกรณ์หลายชนิดที่จเป็นต้องรู้ขนาดก่อนซึ่งส่วนมากจะเป็นอุปกรณ์ที่มีค่าแต่ไม่มีเบอร์เช่นตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีเฉพาะค่าเพียงอย่างเดียวผู้ใช้งานจะต้องรู้ว่าเมื่อใช้งานจริงจะต้องใช้งานที่มีขนาดตัวถังเท่าใด (อุปกรณ์ที่มีเบอร์เวลาค้นหาจะได้ขนาดตัวถังมาด้วย) บทความนี้จะยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่โปรแกรม EasyEDA มีมาให้แล้วตัวอย่างเช่น
1. ตัวต้านทาน ในความเป็นจริงมีขนาดหลากหลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนวัตต์ของตัวนั้น ๆ  จากรูปเป็นตัวต้านทานที่มีขา


2. ขนาดของตัวต้านทานเมื่อดัดขาพร้อมประกอบลงบนแผ่นวงจรพิมพ์จะมีชื่อตัวถังที่มีตัวเลขระบุในหน่วย inch เช่น Axial-0.4 หมายถึงระยะขาห่างกัน 0.4inch หรือ 400 mil


3. ในโปรแกรม EasyEDA จะมีให้เลือกใช้ดังรูป


4. เมื่อวางแล้วทดสอบวัดระยะในหน่วย mil จะได้ดังรูป


5. ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลต์ (แบบมีขั้ว)


6. ขนาดของระยะระหว่างขา (F) จะมีหน่วยเป็น mm


7. เมื่อไปค้นหาในเวปไซต์จำหน่ายอุปกรณ์จะมีระบุขนาดให้ไว้แต่ขนาดที่ระบุจะมีหน่วยเป็น mm สามารถเอาค่าดังกล่าวมาใช้ออกแบบได้


8. ในโปรแกรม EasyEDA จะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเก็บประจุแบบมีขั้วให้เลือกใช้ โดยชื่อจะมีค่าระบุของขนาดตัวเส้นผ่าศูนย์กลางใช้อักษร D และขนาดระยะห่างระหว่างขาใช้อักษร F


9. เมื่อเอาไปใช้งานจริงระยะขาจะตรงกับค่าการวัดที่เป็น mil ดังรูป


10. ตัวต้านทานที่เป็น SMD


11. เบอร์ของตัวถังจะเป็นตัวบ่งบอกถึงขนาดโดยจะใช้หน่วยการวัดเป็น inch ดังรูป


12. ในโปรแกรม EasyEDA จะมีอุปกรณ์ตัวต้านทานที่เป็น SMD ดังรูป


13. ตัวเก็บประจุแบบ SMD


14. ขนาดของตัวเก็บประจุจะมีลักษณะเช่นเดียวกับตัวต้านทาน SMD กล่าวคือเบอร์ตัวถังจะสอดคล้องกับขนาดตัวดังรูป


15. ในโปรแกรม EasyEDA จะมีอุปกรณ์ตัวเก็บประจุที่เป็น SMD ดังรูป


16. ตัวถังที่อยู่ในกลุ่มของทรานซิสเตอร์จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังรูป


17. ตัวถังที่อยู่ในกลุ่มของไดโอดบริดจ์จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังรูป

14
การใช้งานโปรแกรมออกแบบลายวงจรพิมพ์ด้วย EasyEDA [ออกแบบลายวงจรพิมพ์ครั้งที่ 1 (FullWaveReg.)]
EasyEDA เป็นเครื่องมือสำหรับงานด้าน Electronic Design Automation (EDA) ที่ใช้ออกแบบวงจรพิมพ์ PCB  (สามารถจำลองวงจรได้ด้วย แต่งานที่โดดเด่นกว่าคือออกแบบลายวงจรพิมพ์) EasyEDA ทำงานแบบออนไลน์ นั่นก็หมายความว่าขณะที่ออกแบบนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโปรแกรมผ่านทางโปรแกรมเปิดดูเวปเช่น google chrome, Microsoft Edge หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้เปิดเวป และยังสามารถดาวน์โหลดตัวโปรแกรมใช้งานมาติดตั้งบนเครื่องเพื่อทำงานได้เช่นกัน
  การใช้งาน โปรแกรม EasyEDA ดำเนินการดังนี้
1. เข้าเวปไซต์ https://easyeda.com จะปรากฏดังรูป


2. สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมัครใช้งาน ให้ดำเนินการสมัครโดยคลิกที่ Register


3. เริ่มเข้าใช้งานโดยคลิกที่ EasyEDA Designer


4. คลิกที่ Std Edition (สำหรับการใช้งานฟรี)


5. หน้าตาโปรแกรมที่ใช้งานผ่านโปรแกรมเปิดเวปไซต์


6. กรณีที่ผู้ใช้งานต้องการโปรแกรมทำงานที่ไม่ใช่โปรแกรมเปิดดูเวป สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งได้โดยคลิกที่ Desktop Client


7. เปิดโปรแกรมมาจะมีหน้าตาเดียวกันกับตอนเปิดจากโปรแกรมเปิดเวป
   -เริ่มการใช้งานโดยการสร้างโปรเจคงานใหม่ คลิกที่ New Project หรือคลิกที่เมนู File แล้วเลือก New Project


8. ตั้งชื่อโปรเจคงานในช่อง Title:


9. ตัวโปรแกรมจะสร้างไฟล์เอกสารสำหรับวาดวงจรดังรูป


10. อุปกรณ์สำหรับวาดวงจรโปรแกรมจัดให้มีอุปกรณ์พื้นฐานที่มักใช้บ่อยสามารถคลิกได้ที่เมนูด้านข้างชื่อ Commonly Library


11. แต่ละตัวโปรแกรมมีให้เลือกใช้หลากหลายตัวถัง ซึ่งสามารถคลิกเลือกใช้งานให้ตรงกับความต้องการได้


12. กรณีที่หาใน Commonly Library แล้วไม่มีสามารถคลิกที่ปุ่ม Library เพื่อค้นหาเพิ่มเติมได้


13. ตัวอย่างงานครั้งนี้เป็นวงจรเรียงกระแสแบบรรักษาระดับแรงดันด้วยไอซี ขนาดตัวถังระยะห่างของตำแหน่งขาอุปกรณ์ (Foot Print) แต่ละตัวผู้ใช้งานจะต้องรู้ว่าจะใช้ตัวถังขนาดเท่าใดซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลจากเวปไซต์จำหน่ายอุปกรณ์หรือดูจากดาต้าชีพ


14. เทอร์มินอลสำหรับต่อสายเข้าและออกวงจรเลือกใช้แบบ 2 ขา มีระยะห่างระหว่างจุดต่อ 5.00 mm
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=000500667


15. ไดโอดเลือกใช้ 1N4007 เนื่องจากมีขนาดเดียวกับ 1N4001 ของวงจร
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=002901662


16. ตัวเก็บประจุ 2200uF
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=082500181
    (1) คลิก Library
    (2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
    (3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
    (4) ดูรายละเอียดระยะของตัวถังให้ตรงตามวงจรกำหนดคือ ระยะขา Pitch=5.00mm ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง Diameter=13mm
    (5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
    (6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์


17. ตัวเก็บประจุ 100nF
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=019800338
    (1) คลิก Library
    (2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
    (3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
    (4) ดูรายละเอียดระยะของตัวถังให้ตรงตามวงจรกำหนดคือ ระยะขา Pitch=5.00mm ตัวถังกว้าง Width=2.5mm ยาว Length=7.2mm
    (5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
    (6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์


18. ไอซี L7812
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=008304969
    (1) คลิก Library
    (2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
    (3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
    (4) หารายการที่มีคำว่า L7812 หากไม่เจอให้ดูเบอร์ใกล้เคียงที่มีรายละเอียดของตัวถังตามต้องการคือ TO-220-3
    (5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
    (6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์


19. เมื่อวางครบจะเป็นดังรูป


20. คลิกที่ปุ่ม Convert Schematic to PCB ดังรูป เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตัวถัง


21. คลิก Apply


22. ตรวจสอบความถูกต้องของระยะห่างของขาอุปกรณ์แต่ละตัวและขนาดของตัวถัง หากต้องการดูว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีโมเดล 3 มิติหรือไม่ให้คลิกที่ 3D


23. ผลที่ได้ (กรณีอุปกรณ์ตัวใดไม่มีโมเดล 3 มิติสามารถเลือกอุปกรณ์ตัวใหม่ หรือค้นหาโมเดล 3 มิติตัวอื่นมาวางทับได้)


24. กรณีที่ต้องการเอาอุปกรณ์แต่ละตัวมาเก็บไว้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานครั้งถัดไปโดยไม่ต้องไปค้นหาอีกสามาถทำได้โดยการ Clone ดังรูป


25. ตั้งชื่ออุปกรณ์ที่ Clone มา เพื่อให้แสดงในรายการของตนเอง (My Libraries)


26. เมื่อดูในไลบรารี่ของผู้ใช้งานจะเห็นรายการอุปกรณ์ที่ทำการ Clone เก็บเข้ามา
    (1) คลิกที่ี Work Space
    (2) คลิกที่ My Libraries->All จะเห็นรายการอุปกรณ์ (3)


27. ดำเนินการต่อวงจร
    - ย้ายไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม
    - เพิ่มอุปกรณ์ให้ครบ สามารถใช้การคัดลอกและวางอุปกรณ์ที่เหมือนกันที่เคยวางมาก่อนหน้านี้แล้ว
    - วางกราวด์ เลือกจากปุ่มกราวด์ (1)
    - ลากสายเชื่อมต่อวงจร เริ่มจากคลิกที่เครื่องมือเชื่อมต่อสายแล้วคลิกที่ขาอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน (2)


28. เมื่อต่อวงจรเสร็จ ให้ทำการบันทึกไฟล์ (SAVE) แล้วทำการคลิกที่ปุ่ม Convert Schematic to PCB


29. จะได้ไฟล์ที่มีอุปกรณ์ที่แสดงเป็นรูปตัวถัง (Foot Print) พร้อมสาย Net ที่แสดงว่าขาแต่ละอุปกรณ์มีการเชื่อมต่อตัวไหนบ้าง


30. ตั้งค่าหน่วยการแสดงผลและค่ากริดดังรูป


31. ดำเนินการดังนี้
    - ทำการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม (ที่คิดว่าการเดินลายทองแดงไม่ยาก)
    - วางรูยึด PCB


32. แก้ไขขนาดของรูยึด PCB
    (1) แก้หน่วยวัดเป็น mm เนื่องจากรูยึด PCB จะมีขนาดรู 3.2 mm เพื่อใช้กับสกรู M3
    (2) คลิกที่รูยึด PCB ที่ได้วางไว้
    (3) แก้ไขรูยึด Hole(D) =3.2mm ดังรูป


33. ตั้งกฎการออกแบบ


34. ตั้งขนาดเส้นลายทองแดง 25mil และระยะชิดที่ 15mil (ต้องตั้งหน่วยวัดเป็น mil ก่อนดำเนินการ)


35. สั่งงานให้ออกแบบเดินลายอัตโนมัติ Auto Route...


36. แก้ไขให้ออกแบบลายเดินลายเฉพาะลายปริ้นด้านล่างเท่านั้น (กรณีที่ต้องการเฉพาะด้านล่าง)


37. ผลที่ได้


38. สามารถแก้ไขลายหากเดินลายอัตโนมัติไม่สวยงาม โดยลบเส้นลายเดิมออกแล้วเดินเส้นใหม่แทน ใช้เครื่องมือเดินเส้นลายทองแดงดังรูป


39. สามารถปิดการมองเห็นเลเยอร์แสดงตัวถังด้านบนเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ พร้อมตั้งค่ากริดและขนาดลายทองแดงให้เหมาะสมกับการเดินลายด้วยมือ


40. ผลของการปรับแต่ง


41. ถมลายให้มีขนาดลายทองแดงใหญ่ขึ้นในส่วนที่มีการแสไหลปริมาณมาก โดยใช้เครื่องมือเดินพื้นทึบ Solid Region แล้วเดินรอบเส้นที่ต้องการถมให้ใหญ่ขึ้น


42. ใส่ข้อความกำกับลงบนลายทองแดง


43. ผลที่ได้


44. ทดลองแสดงผล 3 มิติ


45. สร้างไฟล์ pdf เพื่อนำไปผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ต่อไป มีขั้นตอนดังรูป


46. เลือกเลเยอร์ที่เป็นลายทองแดงดังรูป


47. ผลของไฟล์ pdf พร้อมนำไปใช้งาน


กรณีที่ต้องารส่งไฟล์เข้าโรงงานผลิต (Gerber)
48. ทดสอบการแสดงผลของแผ่น PCB เมื่อส่งโรงงานว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ คลิกที่ 2D


49. ผลที่ได้ หากต้องการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขให้ดำเนินการ


50. สามารถทดสอบการเปลี่ยนสี PCB ว่าสีใดเหมาะสมก่อนสั่งผลิต


51. คลิกเมนูเพื่อสร้างไฟล์ Gerber ดังรูป


52. ขั้นตอนนี้โปรแกรมจะให้บันทึกไฟล์ Gerber เป็นไฟล์ zip ลงเครื่องหรือจะสั่งผลิตในเวปไซต์ที่ระบุ
    - ให้ผู้ใช้เลือกที่บันทึกลงไดร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในโฟลเดอร์ที่เตรียมไว้


53. หาเวปไซต์ทดสอบไฟล์ Gerber


54. ส่งไฟล์ Gerber ที่บันทึกไว้ไปยังเวปไซต์แล้วดูผล (หากเกิดข้อผิดพลาดให้กลับไปแก้ไขในโปรแกรมออกแบบ)


55. คลิกดูลายวงจรด้านล่างว่าตรงตามที่ออกแบบไว้หรือไม่

15
   ST-Link เป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการอัพโหลดโค้ดลงชิพ STM32 ซึ่งบอร์ด STM32 Blue pill ที่ใช้ทดลองถึงแม้ว่าจะมีพอร์ตที่เชื่อมต่อ USB ติดตั้งไว้ที่บอร์ดแล้วก็ตาม แต่บอร์ดไม่สามารถโปรแกรมตัวเองได้ (ในครั้งแรก) ST-Link เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่นำมาใช้งานการอัพโหลดนี้

1. หน้าตาของ ST-Link V2


2. เข้าไปดาวน์โหลดไดร์เวอร์สำหรับ ST-Link ได้โดยตรงจากเวปไซต์
https://www.st.com/en/development-tools/stsw-link009.html

กรณีไม่สามารถดาวน์โหลดได้ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่
https://drive.google.com/file/d/1D9hBr2g7WYXLAJaAebsvV_3DxgUcFcg9/view?usp=sharing

3. ดำเนินการแตกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาแล้วรันไฟล์ dpinst_amd64.exe เพื่อทำการติดตั้งและดำเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น (เหมือนกับการติดตั้งโปรแกรมทั่วไป)

เมื่อเสร็จสิ้นการติดตั้ง


4. ทำการเชื่อมต่อสายจาก ST-Link เข้ากับบอร์ด STM32 โดยมีขาต่อดังรูป แล้วเสียบโมดูล ST-Link เข้าคอมพิวเตอร์
โค๊ด: [Select]
STLink <----> STM32 Blue Pill
  3.3V <------> 3.3V
  GND <-------> GND
  SWIO <------> IO
  SWCLK <-----> CLK



5. ทำการตรวจสอบผลการติดตั้งโดยเข้าไปที่ Device Manager


6. STLink จะปรากฏดังรูป (ไม่ได้อยู่ในหมวด Ports)


7. เปิดไฟล์ตัวอย่าง (ไฟกระพริบ LED ที่อยู่บนบอร์ด STM32 Blue Pill) ดังรูป


8. เลือกบอร์ด STM32 ให้ตรงกับที่ใช้งาน (ตัวอย่างนี้เป็นบอร์ดที่ใช้ชิพ STM32F103C6T6)


9. เลือก Upload methode เป็น STLink

*ไม่ต้องเลือก Port เนื่องจาก STLink ไม่ได้สื่อสารผ่านพอร์ตอนุกรม

10. คลิกอัพโหลด สักงเกตผลการอัพโหลดและผลของไฟกระพริบของ LED บนบอร์ด STM32 Blue Pill


16
ไมโครคอนโทรลเลอร์ (STM32 Arduino Compatible) / EP1 [STM32 Arduino IDE Getting Started] เตรียมโปรแกรม Arduino IDE
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ พฤษภาคม 11, 2022, 03:59:59 PM »
    บทความนี้เป็นศึกษาไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลอื่นที่บอร์ดราคาถูกและมีขายในไทยหาซื้อง่าย เริ่มด้วย EP1 เป็นการเตรียมโปรแกรมไว้สำหรับเขียนโค้ด เลือกใช้ ArduinoIDE เนื่องจากส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับการใช้โปรแกรมตัวนี้ ไม่ว่าจะเขียนกับ ArduinoUNO, ArduinoNano, ESP8266, NodeMCU, WeMOS D1 mini, ESP32 DOIT DevKit
    STM32 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลหนึ่งผลิตโดยบริษัท STMicroelectronics มีหน่วยประมวลผล ARM® Cortex®-M processor 32-bit ในไลน์การผลิตมีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้ตามลักษณะการใช้งาน สำหรับบทความการทดลองในชุดนี้จะใช้บอร์ด STM32 Blue Pill ในประเทศไทยสามารถหาซื้อได้จะมี 2 รุ่นคือรุ่นที่ใช้ซีพียู  STM32F103C8T6 และ STM32F103C6T6
 
1. ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล STM32 ARM® Cortex®-M processor 32-bit  รุ่นที่ใช้ศึกษาในที่นี้จะเป็นรุ่น STM32F1


2. รุ่นย่อยของ STM32F1 จะเป็นรุ่น STM32F103 มีคุณสมบัติต่างจากรุ่นอื่นดังรูป


3. บอร์ด STM32 Blue Pill ในประเทศไทยสามารถหาซื้อได้จะมี 2 รุ่นคือรุ่นที่ใช้ซีพียู  STM32F103C8T6 และ STM32F103C6T6 มีขนาดของหน่วยความจำแฟลชและแรมต่างกันดังรูป


4. เบอร์ของซีพียู  STM32F103C8T6 แต่ละตัวอักษรจะมีความหมายดังนี้


5. คุณสมบัติของซีพียู  STM32F103C8T6 และ STM32F103CBT6 มีความแตกต่างกันที่ขนาดของหน่วยความจำแฟลชโดยที่ซีพียู  STM32F103C8T6 จะมีขนาดหน่วยความจำแฟลช 64Kbyte ส่วน STM32F103CBT6 จะมีขนาด 128Kbyte


6.คุณสมบัติของซีพียู  STM32F103C4T6 และ STM32F103C6T6 มีความแตกต่างกันที่ขนาดของหน่วยความจำแฟลชโดยที่ซีพียู  STM32F103C4T6 จะมีขนาดหน่วยความจำแฟลช 16Kbyte ส่วน STM32F103C6T6 จะมีขนาด 32Kbyte


7. รูปร่างหน้าตาของบอร์ด STM32 Blue Pill


8. อาจมีความแต่ต่างอยู่บ้างในบางรุ่น ข้อสำคัญเบอร์ซีพียูต่างกันแต่บอร์ดเหมือนกันต้องสังเกตที่เบอร์บนตัวชิพไมโครคอนโทรลเลอร์


การติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE เพื่อใช้เขียนโปรแกรมลงชิพ STM32
9. เข้าเวปไซต์ https://www.arduino.cc/en/software เลือกไฟล์ติดตั้งโปรแกรมในที่นี้เลือกชนิดไฟล์ที่เป็นไฟล์ zip


10. คลิกดังรูปทำการดาวน์โหลดไฟล์


11. แตกไฟล์ไว้ในไดร์ C:


12. เข้าในโฟลเดอร์และรันไฟล์โปรแกรม arduino.exe


13. เข้าเมนูตั้งค่าดังรูป


14. ขั้นตอนนี้ทำ 2 อย่างในครั้งเดียว
    14.1 ตั้งค่าโปรแกรมให้แสดงหมายเลขบรรทัดเมื่อเขียนโค้ดและแสดงผลเมื่อมีการคอมไพล์หรืออัพโหลดโดยติ๊กเครื่องหมายถูกตามหมายเลข 1,2,3
    14.2 ใส่ลิงค์เพื่อใช้ในการเพิ่มบอร์ด STM32 โดยการคัดลอกลิงค์ข้างล่างนี้ สามารถเกิดได้  2 กรณีคือ
           - กรณีที่ในช่องว่างอยู่ไม่มีลิงค์อะไรอยู่เดิมให้วางได้เลยลงในช่องหมายเลข 4
           - กรณีที่ในช่องไม่ว่างให้คลิกหมายเลข 5
โค๊ด: [Select]
http://dan.drown.org/stm32duino/package_STM32duino_index.json


15. กรณีที่ในช่องไม่ว่างให้คลิกหมายเลข 5 จากขั้นตอนข้างต้นจะปรากฏหน้าต่างให้กดเอ็นเตอร์ท้ายลิงค์เดิมเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่แล้ววางลิงค์ที่คัดลอกมา
โค๊ด: [Select]
http://dan.drown.org/stm32duino/package_STM32duino_index.json


16. เพิ่มบอร์ด STM32 โดยคลิกตามรูป


17. พิมพ์ในช่องค้นหาด้วยคำว่า stm31f1 จะปรากฏรายการดังรูปแล้วคลิก Install


18. รอจนกระทั้งติดตั้งเสร็จ


19. กรณีที่ทดลองด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ STM32F103C8T6 ให้เลือกดังรูป


20. จากการเลือกข้างบนจะต้องเลือกเบอร์ STM32F103C8T6 อีกเมนูหนึ่งดังรูป


21. กรณีที่ทดลองด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ STM32F103C6T6 ให้เลือกดังรูป


22. เปิดโปรแกรมตัวอย่างไฟกระพริบเพื่อทดลองคอมไพล์


23. ทำการคอมไพล์โดยคลิกที่ 1 สังเกตผลการคอมไพล์ 2



17

ตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์


มุมมองด้านข้าง


จุดติดตั้งใช้งานจอ LCD 16x2 แบบธรรมดา


จุดติดตั้งใช้งานจอ LCD 16x2 แบบ i2c สามารถเสียบเข้ากับชุดวงจรทดลองได้โดยตรง


มุมมองด้านข้างของจุดเสียบคอนเน็กเตอร์จอ LCD 16x2 แบบ i2c


มุมมองด้านบนของจุดติดตั้งจอ LCD 16x2 แบบ i2c  จะอยู่ตำแหน่งเดียวกับจอ OLED สามารถใช้งานได้พร้อมกัน


จุดติดตั้งโมดูลแสดงผลตัวเลข 7 ส่วน 8 หลักที่ใช้ไอซีขับเบอร์ MAX7219


จุดติดตั้งโมดูลแสดงผลตัวเลข 7 ส่วน 4 หลักที่ใช้ไอซีขับเบอร์ TM1637 และ HT16K33(i2c)


เมื่อติดตั้งโมดูลแสดงผลตัวเลข 7 ส่วน 4 หลักที่ใช้ไอซีขับเบอร์ TM1637 จะต้องบัดกรี PinHeade ที่เป็นขาตรง ทั้ง 2 ข้างของโมดูล


เมื่อติดตั้งโมดูลแสดงผลตัวเลข 7 ส่วน 4 หลักที่ใช้ไอซีขับเบอร์  HT16K33(i2c) จะต้องบัดกรี PinHeade ที่เป็นขาตรง
18
รายการอุปกรณ์
web www.es.co.th
ลำดับที่รายการ   จำนวนตัว
10.1uF1
21N58171
3LED 3 mm1
4MINI-USB Connector1
5Female Header 1x141
6STEPPING-MOTOR-CON1
7I.C. SOCKET DIP 16 PINS1
8I.C. SOCKET DIP 18 PINS1
9Terminal Box2
10Switch Tact8
web www.allnewstep.com
ลำดับที่รายการ   จำนวนตัว
1Breadbroad 170hole1
2Buzzer1
3DHT111
4Female Header 1x101
5Female Header 1x152
6Female Header 1x161
7Female Header 1x28
8Female Header 1x35
9Female Header 1x44
10Female Header 1x4-902
11Female Header 1x51
12Female Header 1x81
13IC: DS18B201
14IC: L293D1
15IC: ULN28031
16LDR1
17LED-BAR 10  digit1
18NTC Thermistor 10k1
19Pin Header Connector 1x40 Black1
20Pin Header Connector 1x40 Red1
21POT-3386P 10k1
22POT-LCD 10k1
23Resistor 10k2
24Resistor 1k3
25Resistor 22014
26Resistor 4k72
27Resistor 6801
28TR: BC5471
29น็อตสกรู M34
30เสาน็อตไนลอน4
โมดูลเพิ่มเติมตามใบงาน
1Arduino Nano1
27 segment 4 digit HT16K33(i2c) 1
37 segment 4 digit TM16371
47 segment 8 digit MAX72191
5DC motor1
6LCD 16char 2 Line1
7LCD 16char 2 Line i2c1
8OLED i2c1
9Stepper Motor 5V1
10Wire jumper แบบแยกเส้น1
11Wire jumper แบบแพ1
ตัวต้านทานที่ไม่สามารถสั่งผ่านเวปได้ (สามารถใช้ค่าใกล้เคียงได้)
1Resistor 820 1/4w1
2Resistor 2k7 1/4w1
รายการอุปกรณ์ร้าน allnewstep บางรายการมีจำนวนมากกว่า 1 ชิ้นต่อการซื้อ 1 ครั้งให้สังเกตุก่อนการกดซื้อ
19
ลายปริ้นวงจรบอร์ดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์เวอร์ชั่น 2022
ลายปริ้นที่ใช้ศึกษาในวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ (Arduino) เวอร์ชั่น 2022 นี้ได้ปรับปรุงจากเวอร์ชั่น 2019 โดยปรับเปลี่ยนสำหรับทดลองที่เป็นตัวเลข 7 ส่วน 4 หลัก (7 Segment 4 Digit)แบบธรรมดาที่ต้องใช้การสแกนเพื่อแสดงผลเนื่องจากการใช้งานจำเป็นต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก(12 ขา) ทำให้ขาเหลือใช้งานอย่างอื่นไม่กี่ขา เปลี่ยนมาเป็นวงจรแสดงผลตัวเลข 7 ส่วน 4 หลักที่ใช้ชิพไอซีเป็นตัวควบคุมโดยจัดวางไว้ในตำแหน่งเดิม ซึ่งสามารถใช้กับโมดูลตัวแสดงผลตัวเลข 7 ส่วน 4 หลักได้ 2 แบบในตำแหน่งเดียวกันโดยใช้วิธีการสลับใช้งานซึ่งได้ออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้สะดวก โดยโมดูลที่ใช้คือ
  1. โมดูลแสดงผล 7 Segment 4 Digit ที่ใช้ไอซี TM1637 มีขาสัญญาณ 2 ขาคือ DIO, CLK
  2. โมดูลแสดงผล 7 Segment 4 Digit แบบ i2c ที่ใช้ไอซี HT16K33 มีขาสัญญาณ 2 ขาคือ SDA, SCA
  ภาคจ่ายไฟมีคอนเน็คเตอร์ USB สำหรับใช้แหล่งจ่ายไฟข้างนอกในกรณีที่โหลดใช้กระแสสูงเพื่อป้องกันไดโอดในบอร์ด Auduino เสียหาย (กรณีที่ไม่ได้ใช้กระแสสูงยังสามารถใช้ไฟที่ผ่านทางสาย USB ที่เสียบเข้าบอร์ด Arduino ได้เช่นกัน) แผ่นลายวงจรมีขนาดเท่าเดิมคือขนาด  6x4 นิ้ว รูปแบบของแผงวงจรเป็นดังรูป




ไฟล์ต้นแบบลายปริ้น (Gerber) สำหรับส่งโรงงานผลิต //ขนาดสั่งทำ 102mm x 153mm
https://drive.google.com/file/d/10yLHdkgKX2RmQou6UsloTUOvGCTvitOV/view?usp=sharing

ไฟล์แบบตัดพลาสติกด้วยเลเซอร์สำหรับฐานรองกันชอร์ตพื้น (CorelDraw)
https://drive.google.com/file/d/1ZPX9yCYlgKB0mjpS4YQPlyRMbM_iK6V2
20
  การสร้างอุปกรณ์ใหม่ที่เป็นตัวถังอุปกรณ์ (Footprint) เพื่อให้ออกแบบลายวงจรพิมพที่ต้องการจากงานที่ผ่านมาในงานครั้งที่ 13 เป็นการวาดขึ้นตามขนาดที่ระบุในดาต้าชีตซึ่งเป็นการสร้างอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก สำหรับงานในครั้งนี้เป็นการสร้างตัวถังที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีวิธีการสร้างที่ง่ายโดยไม่ต้องวาดขึ้นด้วยตนเองแต่จะใช้รูปร่างที่มาจากไฟล์ด่ต้าชีตที่เป็นไฟล์ pdf (โดยรูปร่างต้องเป็นแบบเวกเตอร์) เมื่อสร้างอุปกรณ์เรียบร้อยแล้วนำไปออกแบบลายวงจรจำเป็นต้องใช้ความรู้บางอย่างอาจต้องใช้ความรู้เบื้องต้นของการใช้งานโปรแกรม KiCad หากจำขั้นตอนการใช้ให้กลับไปศึกษาการงานครั้งที่ 8[V2] https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=409.0

   งานในครั้งนี้เมื่อออกแบบเรียบร้อยจะเป็นดังรูป (สามารถจัดวางอุปกรณ์ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ตามต้องการ)


งานครั้งนี้ต้องสร้างอุปกรณ์ดังนี้
1. 7 segment เบอร์ LTC-4727 (Symbol Library)
2. 7 segment เบอร์ LTC-4727 (Footprint)

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. วงจรที่ใช้ในการออกแบบ


2. รูปร่างของตัวอุปกรณ์ที่ต้องการสร้าง ทำการเขียนโครงร่างการจัดวางขาให้เหมาะสม (ง่ายต่อการเขียนวงจร) โดยดูรายละเอียดจากดาต้าชีต ในที่นี้จัดวางตำแหน่งดังรูป


3. คลิกเมนู Preferences แล้วคลิกที่ Manage Symbol Libraries... (เรียกไฟล์ไลบรารี่เก่ามาสร้างเพิ่ม)


4. เรียกไฟล์ไลบรารี่เก่า (หากต้องการสร้างใหม่ให้กลับไปศึกษางานครั้งที่ 13)


5. รายการไฟล์ไลบรารี่เก่าที่เพิ่มเข้าโปรแกรม


6. เข้าโปรแกรมวาดผังวงจร แล้วคลิกแก้ไข/สร้างอุปกรณ์


7. ไลบรารี่จะเพิ่มเข้าในรายการ


8. คลิกสร้างอุปกรณ์ เลือกไลบรารี่ที่ต้องการบันทึก


9. ใส่ชื่ออุปกรณ์ ตัวอักษรนำหน้า และคุณสมบัติอื่น ๆ ของอุปกรณ์


10. สร้างกรอบตัวถังอุปกรณ์ (โดยประมาณก่อน สามารถปรับทีหลังได้)


11. ดับเบิลคลิกที่เส้นขอบ เลือกสีพื้น (หากต้องการ)


12. คลิกไอคอนวางขาอุปกรณ์ ใส่ชื่อ, เลขขา, ชนิดของขา(ดูจากดาต้าชีพว่าเป็นขาแบบใด) ทำให้ครบทุกขา ทำการขยับ จัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม (การวางขาให้ตั้งค่า grid ไว้ที่ 50 mil)


13. เมื่อดำเนินการเสร็จจะเป็นดังรูป


14. เช้าเวปไซต์เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมแก้ค่าไฟล์ดาต้าชีต ซึ่งจะใช้โปรแกรม Inkscape ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรี สามารถหาได้โดยค้นหาจากกูเกิล


15. รันโปรแกรม Inkscape ทำการเปิดไฟล์ดาต้าชีตของ LTC-4727 (ผู้ออกได้ดาวน์โหลดไว้ก่อนหน้านี้แล้ว) ระบุหน้าที่ต้องการเปิด (หน้าที่มีรูปตัวถัง)


16. คลิกที่รูปแล้วทำการ Ungroup ดังรูป


17. ทำการลบส่วนที่ไม่ต้องการออกให้เหลือส่วนที่เป็นตัวถังอย่างเดียว


18. ลากครอบทั้งหมดทำการ Group ดังรูป


19 กำหนดขนาดให้ตรงกับที่ระบุในด้าต้าชีต


20. บันทึกไฟล์เป็นชนิด *.dxf


21. กำหนดหน่วยเป็น mm


22. กลับไปให้คอนโทรลพาเนล คลิกเมนู Manage Footprint Libraries...


23. เปิดไฟล์ Footprint ไลบรารี่ที่เคยสร้างไว้เพื่อสร้างตัวถังเพิ่ม


24. คลิกไอคอนสร้าง/แก้ไข Footprint


25. คลิกสร้างตัวถังใหม่ พร้อมกำหนดชื่อตัวถัง


26. ทำการนำเข้าไฟล์ dxf ที่สร้างในขั้นตอนข้างต้น


27. กำหนดขนาดเส้นและเลเยอร์ที่ต้องการดังรูป



28. ทำการจัดวาง พร้อมวาง PAD ในตำแหน่งที่ถูกต้องดังรูป


29. เข้าเวป 3dcontentcentral ค้นหา LTC-4727 ทำการดาวน์โหลดไฟล์ STEP ดังรูป
https://www.3dcontentcentral.com/download-model.aspx?catalogid=171&id=725825


30. กลับมาที่โปรแกรมสร้างตัวถังคลิกที่ไอคอนดังรูป


31. คลิกที่ 3D Settings


32. เปิดไฟล์ STEP พร้อมปรับตำแหน่งให้รูป 3D ตรงตำแหน่ง


33. กลับไปที่โปรแกรมสร้าง/แก้ไข อุปกรณ์ เพิ่มตัวถัง


34. ไปที่โปรแกรมวาดผังวงจร ทำการอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มจาก LTC-4727 ดังรูป


35. วางตัวต้านทานพิมพ์ R


36. วางทรานซิสเตอร์พิมพ์ BC547


37. คอนเน็คเตอร์ขนาด 1x8


38. คอนเน็คเตอร์ขนาด 1x2


39. คอนเน็คเตอร์ขนาด 1x1


40. รูยึด PCB


41. กราวด์ของวงจร


42. เชื่อมต่อวงจร


43. ทำการ Annotate


44. กำหนดตัวถัง


45. ตัวถังของอุปกรณ์แต่ละตัว


46. สร้างไฟล์ Netlist


47. เปิดโปรแกรมออกแบบลายปริ้น


48. โหลดไฟล์ Netlist จากขั้นตอนที่ 46


49. ผลที่ได้ เคลื่นย้ายวางกลางแผ่นออกแบบ


50. จัดวางที่เหมาะสม (ที่สามารถออกแบบลายง่าย)

 
51. เดินลายปริ้น ปรับเส้นให้ได้ตามต้องการ


52. ทดลองดูมุมมอง 3D ว่าเหมาะสมตามต้องการหรือไม่


53. เตรียมการสร้างไฟล์ที่เป็นไฟล์ pdf เพื่อนำไปสร้างแผ่นวงจรพิมพ์ ขั้นตอนการกำหนดเป็นดังรูป


54. เปิดไฟล์ pdf ที่ได้ดูผลที่ได้


55. กำหนดจุดเริ่มต้นของแบบเพื่อสร้างไฟล์ Gerber


56. สั่งสร้างไฟล์ Gerber โดยกำหนดดังรูป


57. สร้างไฟล์เจาะรู


58. กำหนดรายละเอียดการเจาะรู


59. ทำการ zip ไฟล์ที่ได้ทั้งหมด


60. เข้าเวปไซต์เพื่อทดสอบไฟล์ gerber
https://www.seeedstudio.com/fusion_pcb.html


61. ผลที่ได้


62. ดูผลลายวงจรด้านบน


63. ดูผลลายวงจรด้านล่าง
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10