กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
.
ข่าว:
SMF - Just Installed!
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ
»
การเรียนรู้ครั้งที่ 31 EasyEDA [สร้างอุปกรณ์ใหม่-1 (Potentiometer)]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: การเรียนรู้ครั้งที่ 31 EasyEDA [สร้างอุปกรณ์ใหม่-1 (Potentiometer)] (อ่าน 2652 ครั้ง)
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
การเรียนรู้ครั้งที่ 31 EasyEDA [สร้างอุปกรณ์ใหม่-1 (Potentiometer)]
«
เมื่อ:
สิงหาคม 09, 2022, 03:31:51 PM »
การออกแบบวงจรพิมพ์ไม่ว่าจะออกแบบด้วยโปรแกรมใดก็ตามต่อให้โปรแกรมนั้นมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้มากมายสิ่งที่ต้องเจอคืออุปกรณ์ที่ต้องการใช้หาอย่างใดก็ไม่เจอซึ่งอาจเป็นได้จาก 2 สาเหตุคือ อุปกรณ์มีมากและมากจนหาไม่เจอ หรือไม่มีอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวคือการสร้างอุปกรณ์ตัวนั้นขึ้นใช้เอง บทความนี้เป็นการเรียนรู้การสร้างอุปกรณ์ขึ้นใช้งานเองที่ใช้โปรแกรม EasyEDA ในการออกแบบวงจรพิมพ์
ขั้นตอนการสร้างอุปกรณ์ใหม่
ประกอบขึ้นด้วย 3 ส่วนคือ
- การสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) เพื่อใช้ในการวาดผังวงจร (Schematic)
- การสร้างตัวถัง (Footprint) ตามขนาดจริงของอุปกรณ์เพื่อใช้ในการออกแบบ PCB
- การใส่ค่าโมเดล 3 มิติ (ขั้นตอนนี้จะมีผลตอนแสดงผล 3 มิติเท่านั้น ไม่ดำเนินการก็ได้)
ขั้นตอนมีดังนี้
1. ก่อนการสร้างอุปกรณ์ใหม่ผู้ออกแบบจะต้องมีขนาดของตัวอุปกรณ์ที่จะสร้างหาได้ 2 วิธีการคือ
- หาดูจากดาต้าชีต
- วัดขนาดจากตัวอุปกรณ์จริง
ขั้นตอนการสร้างสัญลักษณ์ (Symbol)
2. เริ่มจากการสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) ดังรูป
3. ตั้งชื่ออุปกรณ์ที่ต้องการสร้าง
4. วาดตัวถัง โดยใช้ขนาดที่เหมาะสมไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ให้ลองวางอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ แล้วลองเทียบสเกลดูว่าควรจะสร้างขนาดเท่าใด
5. วางขาอุปกรณ์ โดยให้จุดเชื่อมต่อวงจร (วงกลมสีเทาปลายขา) อยู่ด้านนอกตัวอุปกรณ์และอยู่ตรงจุดตัดของกริดเพื่อให้ง่ายต่องการลายสายเชื่อมต่อ
6. กรณีที่อุปกรณ์นั้น ๆ ไม่แสดงชื่อขาหรือหมายเลขขาเช่น ตัวต้านทาน ทรานซิสเตอร์ ไตรแอค เอสซีอาร์ เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเขียนชื่อขาหรือหมายเลขขาผู้ออกแบบวงจรก็สามารถใช้งานได้ วิธีการตั้งค่าไม่ได้แสดงค่าดังกล่าวทำได้ดังรูป
7. กรณีที่ต้องการใส่หัวลุกศรสามารถทำได้ดังรูป
8. ตั้งชื่อ Pre เป็นชื่อลำดับอุปกรณ์ เวลาออกแบบวงจรโปรแกรมจะแสดงเช่นตัวต้านทานก็แสดงเป็น R1, R2, R3
9. ทำการบันทึก ทดสอบว่าอุปกรณ์ที่สร้างเข้าในโปรแกรมหรือยังโดยคลิกดังรูป
ขั้นตอนการสร้างตัวถัง (Footprint)
10. คลิกเริ่มสร้างดังรูป
11. ตั้งชื่อตัวถัง (Footprint)
12. วาง PAD โดยให้ระยะห่างตรงตามขนาดของจริง และให้ PAD จุดกลางอยู่ตรงตำแหน่งกลางการออกแบบ (เส้นกริดสีขาว) ในที่นี้ระยะห่างระหว่าง PAD มีขนาดเท่ากับ 5mm ตามแบบ แต่ในความเป็นจริงขนาดจะห่างเท่ากับ 5.08mm หรือเท่ากับ 200mil ซึ่งมีระยะห่างเท่ากับ 2 ช่องกริด(ในกรณีที่ตั้งกริดไว้ที่ 100mil)
13. คลิกคลุมทั้งหมดเพื่อแก้ไขขนาดของ PAD ที่งที่เป็นรูและขนาดของทองแดงดังรูป
14. คลิกเลือกเลเยอร์ TopSilkLayer (สีเหลือง) ทำการวาดตัวถังให้ใกล้เคียงกับขนาดจริงมากที่สุด สามารถตวัดระยะการออกแบบได้โดยใช้เครื่องมือวัดระยะ ดังรูป
15. เมื่อออกแบบครบและได้ขนาดตามต้องการให้ทำการลบเส้นวัดระยะ แล้วทำการบันทึก
16. กลับไปหน้าต่างการออกแบบสัญลักษณ์ คลิกที่ช่อง Footprint
17. คลิกค้นหา Footprint ดังรูป
18. เลือก Footprint ที่สร้างขึ้น โปรแกรมจะทำการเชื่อมต่อขาให้อัตโนมัติ
หากการเชื่อมต่อไม่ถูกต้องผู้ใช้สามารถแก้ไขการเชื่อมต่อได้
หากตรวจสอบพบการเชื่อมต่อขาไม่ถูกต้อง อาจเกิดจากการเรียงขาไม่ถูกในขั้นตอนใดให้ไปแก้ไขในขั้นตอนนั้น เช่นในตัวอย่างการเรียงขาในขั้นตอนการสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) ผิด ดำเนินการกลับไปแก้ไขการเรียงขาในสัญลักษณ์ใหม่ แล้วดำเนินการซ้ำในขั้นตอนกำหนด Footprint ใหม่ดังรูป
การใส่โมเดล 3 มิติ
19. โมเดล 3 มิติสามารถค้นหาและดาวน์โหลดมาใช้งานได้จากหลายเวปไซต์ที่แจกฟรี ในที่นี้ขอแนะนำ
https://www.3dcontentcentral.com
สำหรับตัวอุปกรณ์ในงานครั้งนี้เป็น Potentiometer สามารถเข้าไปดาวน์โหลดจากลิงค์ โดยเลือกชนิดไฟล์เป็นนามสกุล *.wrl
https://www.3dcontentcentral.com/Download-Model.aspx?catalogid=171&id=774453
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเวปไซต์จะไม่สามารถดาวน์โหลดได้ ครูได้ดาวน์โหลดไว้ให้แล้วโดยสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
http://www.praphas.com/download/3dModelEasyEDA/User%20Library-Potentiometer-3.wrl
20. ทำการสร้างไฟล์เก็บโมเดล 3D ดำเนินการดังรูป
21. เลือกไฟล์โมเดล 3 มิติที่ดาวน์โหลดมาแล้วจากขั้นตอนข้างต้น
22. กลับไปที่ไฟล์ Footprint ที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ คลิกที่ช่อง 3DModel
23. ทำการค้นหาโมเดล
24. คลิกแล้วทำการปรับแก้ขนาด ตำแหน่ง
25. เมื่อปรับแก้ตำแหน่งถูกต้องแล้ว ให้ปรับมุมมองในช่องแสดงผล ให้ขาอุปกรณ์อยู่ตรงกลางของรูพอดี
26. ทำการทดสอบโดยการสร้างโปรเจคออกแบบ PCB ใหม่โดยเลือกอุปกรณ์ที่สร้างขึ้น การเลือกทำได้ดังรูป
27. ทดลองวาง 2 ตัวแล้วเชื่อมต่อขา
28. ทำการอัพเดตเป็น PCB ให้สังเกตุสายเน็ตต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างขาอุปกรณ์
29. ทดลองแสดงผล 3D จะต้องแสดงผลโมเดล 3 มิติได้ดังรูป
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2022, 10:26:19 AM โดย admin
»
บันทึกการเข้า
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
Re: การเรียนรู้ครั้งที่ 31 EasyEDA [สร้างอุปกรณ์ใหม่-1 (Potentiometer)]
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
สิงหาคม 13, 2022, 11:54:26 AM »
ออกแบบอุปกรณ์เพิ่มความชำนาญ
ออกแบบอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า "ตาไก่" ไว้สำหรับเชื่อมต่อสายเข้าวงจร ให้ตั้งชื่ออุปกรณ์ใน easyeda ว่า
Eyelets
ขนาดของตาไก่
การออกแบบตัวสัญลักษณ์
รูปร่างของตัวถัง (Footprint)
โมเดล 3 มิติสามารถดาวนโหลดจากเวปไซต์หลักได้ที่
https://www.3dcontentcentral.com/download-model.aspx?catalogid=171&id=66419
หรือจะดาวน์โหลดจากเวปครูได้ที่
https://www.praphas.coml/download/3dModelEasyEDA/User%20Library-Eyelets.wrl
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2022, 11:56:16 AM โดย admin
»
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ
»
การเรียนรู้ครั้งที่ 31 EasyEDA [สร้างอุปกรณ์ใหม่-1 (Potentiometer)]